โรคปริทันต์
โรคปริทันต์ (Periodontal Disease) หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า โรคเหงือกอักเสบ
แต่จริงๆแล้ว โรคปริทันต์
มิได้มีการอักเสบเกิดขึ้นแค่ที่เหงือกเท่านั้น แต่เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับอวัยวะรอบๆฟัน อันได้แก่ เหงือก, กระดูกเบ้าฟัน, เอ็นยึดปริทันต์ และ ผิวรากฟัน |
|||||||||||||||
สาเหตุของโรคปริทันต์
สาเหตุเบื้องต้น คือ
เชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่มีอยู่ในช่องปากซึ่งเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นในสภาวะ
ที่เหมาะสม กล่าวคือการมีคราบอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่เกาะบนผิวฟัน และจากการที่เรา ทำความสะอาดฟันไม่ดีพอ ทำให้คราบอาหารเหล่านี้กลายเป็นอาหารของแบคทีเรีย ทำให้ แบคทีเรียเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้นแผ่กระจายไปบนผิวฟัน ที่เราเรียกกันว่า แผ่นคราบจุลินทรีย์ แบคทีเรียพวกนี้เมื่อมีการบริโภคอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลเข้าไปจะปล่อยกรดและสารพิษออกมา เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ผลคือทำให้เหงือกบวมแดงอักเสบและมีเลือดออก ทำให้เกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ แผ่นคราบจุลินทรีย์ไม่เพียงแต่จะมีแค่ส่วนตัวฟันที่อยู่ เหนือขอบเหงือกเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในส่วนใต้ขอบเหงือกที่เรามองไม่เห็น ส่วนนี้เองที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์ลงสู่กระดูกเบ้าฟัน ผลคือทำให้กระดูกเบ้าฟันละลาย ทำให้ล่องเหงือกลึกลงไปเรื่อยๆ ทำให้ฟันไม่ยึดติดกับเหงือกและก่อให้เกิดหนองในร่องปริทันต์ ทำให้รู้สึกเจ็บเหงือกและอาจมีอาการปวดเมื่อเคาะที่ตัวฟันและฟันโยกได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้เหงือกและกระดูกเบ้าฟันจะถูกทำลายลงเรื่อยๆจนในที่สุดก็อาจจะต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป เนื่องจากสูญเสียอวัยวะรอบฟันที่ช่วยในการยึดเกาะฟันไว้กับขากรรไกร
|
|||||||||||||||
การรักษาโรคเหงือกควรจะรีบทำการรักษาในทันทีที่มีการตรวจพบว่าเป็นโรคเหงือก
เพราะหากปล่อยไว้จะทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น หากพบอาการของโรคเหงือก
ควรจะเข้าพบทันตแพทย์ หรือทันตแพทย์เฉพาะทาง
เพื่อที่จะทำการรักษาแต่เนิ่น ๆ เพราะหากปล่อยไว้ โรคเหงือก
จะทำให้สูญเสียฟันได้
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
สรุปขั้นตอนการรักษา
1. การรักษาจะต้องมีการขูดหินปูน และเกลารากฟัน (root planing) ร่วมด้วย โดยจะขูดหินปูนทั้นบนตัวฟันและส่วนที่อยู่บนผิวรากฟันภายในร่องปริทันต์ ส่วนการเกลารากฟันคือการทำให้ผิวรากฟันเรียบเพื่อให้เนื้อเยื่อเหงือกสามารถกลับมายึดแน่นติดกับผิวฟันได้เหมือนเดิม ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องทำซ้ำหลายๆครั้ง 2. หลังจากรักษาเสร็จแล้วประมาณ 4-6 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะเรียกกลับมาดูอาการอีกครั้งว่า หายดีหรือไม่ ถ้ายังมีร่องลึกปริทันต์เหลืออยู่หรือมีการละลายของกระดูกไปมาก อาจจำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัดเหงือก (ศัลย์ปริทันต์ : Periodontal Surgery) ร่วมด้วย 3. ท่านจะต้องทำความสะอาดฟันและซอกฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอด้วยตนเอง อย่างน้อยจะต้องใช้แปรงและไหมขัดฟันทุกวัน เพื่อที่จะกำจัดคราบจุลินทรีย์ให้หมดทุกวัน 4. ไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจดูว่ามีคราบจุลินทรีย์และหินปูนหลงเหลือจากการทำความสะอาดเองหรือไม่ เพื่อที่จะได้รับการรักษาในระยะแรก
หากในคนไข้ที่เป็นโรคเหงือกมาก ๆ ก็อาจจำเป็นต้องพบทันตแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการเกลารากฟัน
เพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์ และหินปูนที่บริเวณตัวฟัน และผิวรากฟัน
การขูดเหงือกเป็นการกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อที่ช่องเหงือก
การขูดหินปูน และการขูดเหงือกเป็นการใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากอย่างจริง
ก็จะเพียงพอต่อการควบคุมโรค แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
สำหรับคนไข้ที่เป็นโรคเหงือกมาก ๆ การขูดหินปูนและการขูดเหงือก
อาจจะไม่ได้ผล ซึ่งในลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ทำการผ่าตัด
ซึ่งระหว่างการผ่าตัดนี้ แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดจะทำการยกเหงือกเพื่อที่จะดูการลุกลามไปที่รากหรือกระดูก
คราบจุลินทรีย์และหินปูนที่ได้ทำการขจัดออกจากบริเวณและจากกระดูกฟัน
จากนั้นนำเหงือกกลับสู่ตำแหน่งที่เหมาะสมที่เหมาะแก่การทำความสะอาดหลังการรักษา
เมื่อมีการเปิดเหงือก และกระดูกมีการสูญเสียไป บางครั้งคนไข้ต้องรักษาโดยการปลูกกระดูก
ซึ่งการปลูกกระดูกนี้เป็นการสร้างกระดูกจากไขกระดูกในปากของเราเอง
หรือจากกระดูกเทียม ซึ่งในขั้นตอนนี้ จะทำการนัดคนไข้ ประมาณ 2-3 ครั้ง
แต่ในบางกรรีก็สามารถเสร็จได้ภายในครั้งเดียว ในโรงพยาบาลหรือคลินิกที่มีอุปกรณ์ครบครัน
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
การรักษาโรคเหงือกควรจะรีบทำการรักษาในทันทีที่มีการตรวจพบว่าเป็นโรคเหงือก
เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น
หากพบอาการของโรคเหงือกควรเข้าพบทันตแพทย์ หรือทันตแพทย์เฉพาะทาง
เพื่อที่จะทำการรักษาแต่เนิ่น ๆ เพราะหากปล่อยไว้
โรคเหงือกอาจทำให้สูญเสียฟันได้
|
วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556
มารู้จัก...โรคปริทันต์ (Periodontal Disease) หรือ โรคเหงือกอักเสบ
วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556
แก้เคล็ด ปีชง2556 ปีชงปีมะเส็ง(งูเห่าน้ำ) ปีชง2556
แก้เคล็ด ปีชง2556 ปีชงปีมะเส็ง(งูเห่าน้ำ) ปีชง2556
ภูมิปัญญาจีนโบราณ ได้เผยแพร่ความเชื่อเรื่อง เทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตา หรือ องค์ไท้ส่วย มา นานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลัทธิเต๋า ที่มักพบว่ามีรูปปั้นของ องค์ไท้ส่วยทั้ง 60 รูปประทับอยู่เพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไปได้สักการบูชาในทุกๆอาราม แต่ละปี องค์ไท้ส่วย จะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปทุกๆปีอย่างไม่มีวันสิ้นสุด หรือที่เรียกว่า “เฝ้าปี” เพื่อทำหน้าที่ปกปักรักษาคุ้มครองดวงปี โดยใช้หลักโหรราศาสตร์จีน โป้ยหยี่สี่เถี่ยว มาเป็นเกณฑ์ และแต่ละองค์ก็จะมีชื่อให้เรียกขานแตกต่างกัน
ชาวจีนโดยทั่วไปเชื่อว่า เทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตา มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นการกราบไหว้บูชา เทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตา หรือ องค์ไท้ส่วย ทุกๆ ปี ก็เป็นการเสริมดวงชะตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เกิดปีชง ควรกราบไหว้เพื่อวิงวอนให้องค์ไท้ส่วยคุ้มครองดวงชะตา เสมือนเป็นการฝากดวง เพื่อสะเดาะเคราะห์ ช่วยให้ร้ายกลายเป็นดี จากหนักกลายเป็นเบา นอกจากนี้ ผู้ใดที่เกิดปีร่วมชงไท้ส่วย ,ปีทับไท้ส่วย,ปีเฮ้งไท้ส่วย,ปีไห่ไท้ส่วยและสุดท้ายคือปีผั่วไท้ส่วย ก็ล้วนอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องกราบไหว้องค์ไท้ส่วย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง หากดวงดีอยู่แล้วก็ให้ดวงดียิ่งขึ้น หากดวงตกก็ตกไม่ถึงศูนย์
องค์ไท้ส่วยที่รับหน้าที่เฝ้าปีในปีพ.ศ. 2556 นี้ ปีมะเส็ง ตามปีใน 12 นักษัตร มีพระนามว่า ขุนพลฉื่อตัวไต่เจียงกุง (สี ตันต้าเจียงจวิน) เทพคุ้มครองดวงชาตาประจำปีกุ่ยจี๋ หรือ ปี 2556 มีอีกนามหนึ่งว่าสีกัน เกิดในสมัยราชวงศ์ฮั่น (คศ.25-220) ณ เมืองส่านตี้ผิงลู่ (ปัจจุบันคือทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเสียนหยาง มณฑลซ่านซี) ศึกษาวิชาบู๊แต่ยังเล็ก ท่านขุนพลสีตันเป็นผู้ที่มีจิตใจห้าวหาญและเด็ดเดี่ยว มีความเชี่ยวชาญในการทำศึก เคยเป็นผู้นำทัพชนะการโจมตีฝ่ายพันเชา และพันเฉิง ตลอดจนโจมตีเมืองอู่ชุนจนแตกพ่าย และในที่สุดท่านก็เป็นผู้สร้างสันติภาพในเขตซีอิ้ว (ปัจจุบันคือมณฑลซินเกียง, ด่านอวี้เหมินกวน) ให้มีความสงบร่มเย็น
ปีที่นับเป็นปีกุ่ยจี๋ หรือปี พ.ศ. 2496, 2556, 2616
- คนเกิดปีกุน (ปีหมู) เป็น ปีชงปี2556 เป็นปีปะทะ ปีชง 100%
คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ คนที่เกิด ปี2490(อายุ 66ปี) ปี2514(อายุ 42ปี) ปี2550(อายุ 6ปี)
- คนเกิดปีมะเส็ง (ปีงูเล็ก) เป็น ปีชงปี2556 เป็นปีทับไท้ส่วย และเป็น คัก กับปีมะเส็ง
คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ คนที่เกิด ปี2472(อายุ 84ปี) ปี2532(อายุ 24ปี)
- คนเกิดปีขาล (ปีเสือ) ปีชง2556 ปีร่วมชงไท้ส่วย เป็นปี เฮ้ง หรือปีเบียดเบียน และเป็นปี ไห่ คือปีให้ร้าย กับปีมะเส็ง
คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ คนที่เกิด ปี2481(อายุ 75ปี) ปี2505(อายุ 51ปี) ปี2541(อายุ 15ปี)
- คนเกิดปีวอก (ปีลิง) เป็น ปีชงปี2556 ปีร่วมชงไท้ส่วย เป็นปี ผั่ว หรือ ปีแตกแยก
คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ คนที่เกิด ปี2463(อายุ 93ปี) ปี2523(อายุ 33ปี)

ปีชง2556 คนที่เกิดปี มะเส็ง คือ ปีทับไท้ส่วย ดวง ชะตาปี2556 มีแนวโน้มที่จะพบกับอุปสรรคหรือความล้มเหลว หากใช้ชีวิตโดยประมาทขาดความรอบคอบ มักจะได้รับความเดือดร้อนอย่างที่สุด เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่แบบบานปลาย สิ่งที่คิดหวังไว้อาจหลุดมือไปอย่างน่าเสียดาย นอกจากจะต้องไปกราบไหว้ขอพรฝากดวงชะตาต่อองค์ไท้ส่วยแล้ว ก็ควรหารูปขององค์ไท้ส่วยประจำปีเกิดของตนมาบูชาหรือพกพาติดตัว ไม่เช่นนั้นก็ควรนำเครื่องรางของปีนักษัตร ฉลู, วอกหรือระกา มาพกติดตัวเพื่อช่วยเสริมดวงชะตาให้ดีขึ้น
ปีชง2556 คนที่เกิดปีขาล คือปี ร่วมชงไท้ส่วย ให้ผลเบียดเบียนและให้ร้าย กับปีมะเส็ง มักเกิดผลเสียเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ ถูกหลอกลวงให้เสียเงินเสียเวลาหรือถูกทำลายชื่อเสียง ระวังความไม่ปรองดองกันของคนในครอบครัว,ญาติพี่น้องและเรื่องของสุขภาพ นอกจากจะต้องไปกราบไหว้ขอพรฝากดวงชะตาต่อองค์ไท้ส่วยแล้ว ก็ควรหารูปขององค์ไท้ส่วยประจำปีเกิดของตนมาบูชาหรือพกพาติดตัว ไม่เช่นนั้นก็ควรนำเครื่องรางของปีนักษัตร มะเมีย,จอหรือกุน มาพกติดตัวเพื่อช่วยบรรเทาอุปสรรคต่างๆให้ลดน้อยลง

ปีชง2556 คนที่เกิดวอก คือ ปี ร่วมชงไท้ส่วยอีก ปีหนึ่งเช่นกัน ให้ผลแตกแยกกับปีมะเส็งอีกทั้งยังเบียดเบียนกับปีมะเส็ง จึงมักประสบกับปัญหา ผิดหวังซ้ำซาก ติดขัดหลายเรื่อง นอกจากชีวิตจะไม่ค่อยราบรื่นแล้ว ยังต้องพบเจอเรื่องลำบากใจ เสียของรัก ผลประโยชน์ที่ควรได้หลุดลอยไปต่อหน้าต่อตา อาจมีปัญหาทั้งหนัก เบาและเป็นๆหายๆ ตลอดทั้งปี นอกจากจะต้องไปกราบไหว้ขอพรฝากดวงชะตาต่อองค์ไท้ส่วยแล้ว ก็ควรหารูปขององค์ไท้ส่วยประจำปีเกิดของตนมาบูชาหรือพกพาติดตัว ไม่เช่นนั้นก็ควรนำเครื่องรางของปีนักษัตร ชวด ,มะโรงหรือมะเส็ง มาพกติดตัวเพื่อกระตุ้นให้สิ่งดีๆ รวมถึงโชคลาภหมุนเวียนเข้ามาหา
ที่มา
http://free.horoworld.com/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)